บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แปะก๋วย

แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ
สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย
ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย


สรรพคุณที่ได้จากใบแป๊ะก๋วย

•แปะก๊วย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo flavoneglycosides ลักษณะใบของมันจะแยกเป็นแฉกคล้ายกังหันลม เมื่อนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายพบว่ามีสารสกัดสำคัญ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มฟลาโวน (Flavonoids) ทำหน้าที่ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ส่วนที่เหลืออีกสองกลุ่มเป็นน้ำมันจากใบแปะก๊วย คือ bilobalides และ ginkgolides สารทั้งสองตัวนี้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย คือ ป้องกันโรคความจำเสื่อม (โรคสมองฝ่อ) โดยเป็นตัวเสริมสร้างการ ส่งสัญญาณในระบบสมอง ช่วยระบบหมุนเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดแผลเรื้องรังโดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่เป็นโรค เบาหวาน และช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายนิ้วมือและเท้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้

•สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันจอตาเสื่อมจากเบาหวานหรือ "ภาวะเบาหวานขึ้นตา" จากการทดลองพบว่าหากให้ผู้ป่วยเบาหวาน และมีอาการทางตา เช่น การรับสีผิดเพี้ยนไป กินสารสกัดแปะก๊วยนาน 6 เดือน ปัญหาการมองเห็นสีดีขึ้น

•ใบแปะก๊วยยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980

•มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น

•สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

•ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย



อ้างอิง1.^ Zhiyan Zhou and Shaolin Zheng (2003-06-19). "Palaeobiology: The missing link in Ginkgo evolution". Nature 423 (ฉบับที่ 423): 821–822. doi:10.1038/423821a.
2.^ Sun (1998). Ginkgo biloba. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Endangered (EN B1+2c v2.3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น