บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มังคุดทำลายเซลล์มะเร็ง


กลุ่มยาแก้อาเจียน  ยอบ้าน




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Morinda citrifolia  L.

ชื่อสามัญ :   Indian Mulberry

วงศ์ :   Rubiaceae

ชื่ออื่น :  ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก

สรรพคุณ :

ใบ -  มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

ราก -  ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น

ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก  - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

ผลดิบ -  ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

          นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

ที่มา : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11_5.htm


ประโยชน์ของมะรุม


สรรพคุณของกระเพรา



สรรพคุณ :

-แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
-ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง
-แก้ไอและขับเหงื่อ
-ขับพยาธิ
-ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
-ลดไข้
-เป็นยาอายุวัฒนะ
-เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา
-เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง
-เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :


แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ 
ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ

วิธีใช้ :

          ยาภายใน  

          เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
          ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
          คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ

          ยาภายนอก

          ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
          กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง  กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว

ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ

เป็นยารักษากลากเกลื้อน
ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

เป็นยารักษาหูด
ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด

ข้อควรระวัง :

          น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
          - อย่าให้เข้าตา
          - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก

เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ

เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้

สารเคมี :
          ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal

ที่มา : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11.htm

ประโยชน์ของอัญชัน


น้ำทับทิม




          ทับทิม เป็นผลไม้ที่สวยงามและมีกลิ่นหอมมาก สามารถปลูกได้ในประเทศไทย แต่ที่แท้จริงเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน) และมีแถบอินเดียตอนเหนือบริเวณเทือกเขาหิมาลัย
         ในเมืองไทย ทับทิมดูจะเป็นผลไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นิยมนำไปถวายแด่พระแม่กวนอิม ในประวัติศาสตร์ พบว่าได้มีการนำทับทิมมาทำเป็นยารักษาโรคตั้งแต่ 80 ปีมาแล้ว ในประเทศเปอร์เซียโบราณมีความเชื่อว่า คุณค่า ทางอาหารทุกชนิดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆ นั้น รวมกันอยู่ในทับทิม ทับทิมเป็นผลไม้ที่ได้รับการเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย โดยมีการใช้ทับทิมเป็นสัญลักษณ์ของผลไม้ ถือว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์หรือเป็นของขวัญจากพระเจ้า

ส่วนผสม

เนื้อลูกทับทิม 1 ถ้วยตวง
น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง
น้ำเชื่อม ตามชอบ
เกลือ ตามชอบ

วิธีทำ

นำทับทิมแกะเอาแต่เนื้อ 1 ถ้วย ใส่ในผ้าขาวบางขยำเติมน้ำต้มสุข 1 ถ้วย ขยำซ้ำอีก กะว่าให้ได้เนื้อออกมาจากเมล็ดมากที่สุด จากนั้นนำมาเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่น คนให้ละลาย ชิมตามชอบ


ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพร

            ทับทิมในตำราแพทย์สมัยโบราณ ในผลทับทิมมีวิตามินมากมายหลายชนิด รวมทั้งแมกนีเซียมและแคลเซี่ยม ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบฟอกโลหิต และ ระบบการหมุนเวียนในร่างกาย ในตำราแพทย์โบราณของเปอร์เซีย (ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำรับของวิชาแพทย์ตะวันตกในปัจจุบัน) ระบุว่าทับทิมมี ประโยชน์ดังต่อไปนี้
-การฟื้นฟูสู่สภาพเดิมของหัวใจและตับ
-การฟอกไตและท่อปัสสาวะ
-สมรรถนะในการส่งเสริมการย่อย
-ขจัดไขมันส่วนเกิน
-เป็นยาบำรุงกำลัง
-ช่วยป้องกันการแพ้ท้อง
-ช่วยปรับฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน
-ปรับปรุงระบบการฟอกและหมุนเวียนโลหิต
-การฟื้นฟูจากโรคเบาหวาน
-สมรรถนะในการกลั้นเสมหะ
-ต่อต้านการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเพิ่มพลัง
-ป้องกันโรคขี้หลงขี้ลืมในผู้สูงอายุ
-ทำให้ผิวหน้าสวย

ที่มา : http://herbal.muasua.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1.html

มะเฟืองแก้ปัญหาสุขภาพ

มะม่วงป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม


         “มะม่วง” นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแล้ว ยังเป็นผลไม้ที่มีเส้นใย โพแทสเซียม และวิตามินซีสูงอีกด้วย และในขณะนี้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ค้นพบว่ามะม่วงอาจช่วยป้องกัน หรือทำลายเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมได้
        การศึกษาจัดทำโดยนัก วิทยาศาสตร์อาหารจากศูนย์วิจัย Texas AgriLife โดยทำการทดสอบสารสกัดโพลีฟีนอลในมะม่วง (สารธรรมชาติที่พบในพืช ซึ่งเชื่อว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพ) กับเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมลูกหมากในห้องปฏิบัติการ
ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากมะม่วงมีผลต่อมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากบ้างเล็กน้อย แต่กลับมีประสิทธิภาพมากกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทำให้เซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ตายได้ รวมทั้งยังไม่ทำอันตรายกับเซลล์ที่ดี ซึ่งอยู่ติดกับเซลล์มะเร็งด้วย
จากผลการศึกษานี้ นักวิจัยวางแผนต่อไปว่าจะทำการทดลองเล็กๆ ทางคลินิกกับอาสาสมัครที่มีการอักเสบของลำไส้เล็ก และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เพื่อดูว่ามีผลทางคลินิกหรือไม่?
         สำหรับ ประโยชน์ของมะม่วงนั้น นอกจากมีวิตามินซีสูงแล้ว ยัง มีวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับร่างกาย เช่น วิตามินอี บี และเค ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นสำหรับหัวใจ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง และยังอุดมไปด้วยเส้นใย ช่วยรักษาอาการท้องผูกและกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่แข็งเกร็งได้อีกด้วย

ที่มา:http://herbal.muasua.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89.html

กระเทียมบรรเทาปัญหาสุขภาพ




 ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี

          ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย

          กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง

          การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน

          สรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม 

           1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม

          2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ

          3. ลดความดันโลหิตสูง

          4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล

          5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว

          6. ลดน้ำตาลในเลือด

          7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้

          8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม

          9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

          10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ

          11. รักษาโรคไอกรน

          12. แก้หืดและโรคหลอดลม

          13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย

          14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย

          15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี

          16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น

          17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย

          18. ต่อต้านเนื้องอก

          19. กำจัดพิษตะกั่ว

          20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย

          ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า


ที่มา:http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/9547

สรรพคุณของใบย่านาง

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555


โหระพา แก้ท้องอืดท้องเฝ้อ




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum basilicum  L.

ชื่อสามัญ :   Sweet Basil

วงศ์ :   Labiatae

ชื่ออื่น :  ห่อกวยซวย ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีลักษณะหรือลักษณะพิเศษของโหระพาดังนี้ เป็นพืชที่มีอายุได้หลายฤดู มีลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมและเป็นพุ่ม ลำต้นจะแตกแขนงได้มากมาย กิ่งก้านมีสีม่วงแดง มีขนอ่อนๆ ที่ผิวลำต้น ใบมีรูปร่างแบบรูปไข่ปกติจะยาวไม่เกิน ๒ นิ้ว ใบจะเรียงตัวแบบตรงกันข้ามกัน ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบมีสีเขียวอมม่วงและมีก้านใบยาว ดอกโหระพา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วงจะออกเป็นช่อคล้ายฉัตรที่ยอด ดอกมีทั้งสีม่วง แดงอ่อน และสีขาว ในแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้ ๔ อัน รังไข่แต่ละอันจะมีสีม่วง เมล็ดมีสีดำมีกลิ่นหอมทั้งต้น 

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

ทั้งต้น - เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

เมล็ด - นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

ราก - ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

สรรพคุณ :

ทั้งต้น  

- รสฉุน สุขุม ขับลม ทำให้เจริญอาหาร
- แก้ปวดหัว หวัด ปวดกระเพาะอาหาร
- จุกเสียดแน่น ท้องเสีย
-  ประจำเดือนผิดปกติ
- ฟกช้ำจากหกล้ม หรือกระทบกระแทก งูกัด
-  ผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง

เมล็ด

- รสชุ่ม เย็น สุขุม ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก
- ใช้แก้ตาแดง มีขี้ตามาก ต้อตา
- ใช้เป็นยาระบาย (ใช้เมล็ด 4-12 กรัม แช่น้ำเย็นจนพอง ผสมน้ำหวาน เติมน้ำแข็งรับประทาน)

ราก

 - แก้เด็กเป็นแผล มีหนองเรื้อรัง

วิธีและปริมาณที่ใช้


ทั้งต้น - แห้ง 6-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้สดคั้นเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง หรือเผาเป็นเถ้า บดเป็นผง ผสมทา

เมล็ด - แห้ง 2.5-5 กรัม ต้มน้ำหรือแช่น้ำดื่ม ใช้ภายนอก บดเป็นผงแต้มทา

ราก - เผา เป็นเถ้าพอก

ใบ 
- ใช้ใบคั้นเอาน้ำ 2-4 กรัม ผสมน้ำผึ้ง จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบ
- ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ชุบน้ำคั้นจากใบอุดโพรงฟันที่ปวด แก้ปวดฟัน

สารเคมี

          น้ำมันหอมระเหยจากใบ ประกอบด้วย Ocimine, alpha-pinene, 1,8- cineole, eucalyptol ,linalool, geraniol,limonene, eugenol, methyl chavicol, eugenol methyl ether.methyl cinnaminate, 3- hexen -1- ol, estragol


ที่มา:http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_10.htm

ส้มแขกสมุนไพรลดความอ้วน



แหล่งกำเนิด

           ส้มแขก เป็นพืชในสกุล Garcinia สำหรับส้มแขกที่มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จำหน่ายตามท้องตลาดในขณะนี้ มีแหล่งอยู่ 2 แห่ง คือ
1. อินเดีย ส้มแขกที่พบในอินเดียมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า“ Garcinia cambogia Desr. “ ที่ประเทศอินเดียใช้ผลส้มแขกเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหาร
2. ไทย ส้มแขกที่พบในเมืองไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า“Garcinia atroviritis Griff “ ซึ่งพบได้ทางภาคใต้ของไทย ใช้ใส่แกงส้มแทนส้มมะนาวหรือส้มอื่นๆ ต้มเนื้อ ต้มปลา ใส่ในน้ำแกง ขนมจีน เพื่อให้ออกรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ส้มแขกสามารถใช้แทนส้มทุกชนิดที่ต้องการให้อาหารมีรสเปรี้ยว


สมุนไพรจากส้มแขก

             มีสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย คือ Garcinia หรือ HCA ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการยับยั้งการสร้างและร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ยับยั้งการอยากอาหาร และช่วยลด Cholesterol ทำให้รูปร่างสมส่วน มีทรวดทรงสวยงาม

1.Vitamin C ช่วยควบคุมความดันโลหิต ทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง

2.เปลี่ยนแป้งและน้ำตาลที่ทานเข้าไปเป็นพลังงานไกลโคเจนแทนการสะสมในรูปไขมัน

3.ร่างกายใช้พลังงานไกลโคเจนได้ในระดับที่ต้องการ ทำให้รู้สึกอิ่ม ผลโดยร่วมทำให้ไขมันลดลง กินอาหารน้อยลง

4.เหงื่อออกมาก เหนี่ยวตัวง่าย สาร HCA จะขับของเสียที่มันหมักหมกอยู่ในร่างกายออกมา

5.ไม่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง

6.ไม่เกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เรียกว่าYO–YO EFFECT คือเลิกทานยาลดน้ำหนักแล้วกลับมาอ้วนอีก
สรรพคุณของส้มแขก ในตำรายาแผนโบราณ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยานั้นมีการวิจัยว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และฤทธิ์ลดน้ำหนักร่างกายเป็นต้น ซึ่งในฤทธิ์ลดน้ำหนักนั้นมีงานวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ฉบับ รายงานว่าสาร hydroxy citric acid (HCA) ที่อยู่ในผลส้มแขก และปรับให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุซอง 1.65 กรัม โดยมี HCA อยู่ 70% หรือประมาณ 1.15 กรัม โดยศึกษาในสตรีที่มี BMI (ดัชนีมวลกาย) > 25 กก./ม2 จำนวน 42 คน โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ซอง ผสมกับน้ำก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง นาน 2 เดือน พบว่าการสะสมของไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง 4.9% น้ำหนักไขมันที่หายไป 16.2% น้ำหนักร่างกายลดลง 3.9% ดัชนีมวลกายลดลง 3.27% และเมื่อสิ้นสุดการทดลองผลของค่าชีวเคมีในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าไม่ทำให้เกิดพิษ หากรับประทานในขนาดที่กำหนด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารายงานด้านความเป็นพิษของส้มแขก ซึ่งข้อมูลงานวิจัยของส้มแขกยังมีไม่มากหนัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกถึงขนาด และวิธีการรับประทานที่ถูกต้องได้

การแปรรูปส้มแขก

สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. การแปรรูปส้มแขกแห้ง โดยนำผลส้มแขกมาหั่นด้วยมือ หรือด้วยเครื่องเป็นชิ้นบางๆ ให้มีขนาดสม่ำเสมอ หลังจากนั้นก็นำมาตากแดด ผึ่งลม ในสถานที่หรือภาชนะที่สะอาด ไม่ควรตากโดยตรงบนพื้นดินหรือพื้นซีเมนต์ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ หากอบ ควรอบในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่า ผลส้มแขก จำนวน 100 กิโลกรัม จะได้ส้มแขกแห้งประมาณ 8 – 12 กิโลกรัม
2.การแปรรูปน้ำส้มแขก
ปัจจุบันน้ำส้มแขก กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำส้มแขก มีรสเปรี้ยว และเมื่อรับประทานแล้วจะรู้สุกชุ่มคอ ช่วยลดการกระหายน้ำได้ดี ดังนั้น จึงมีผู้สนใจทำน้ำส้มแขก เอไว้บริโภคในครอบครัวและบางรายก็สามารถทำน้ำส้มแขกเพื่อจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนการทำน้ำส้มแขกมีดังนี้
1. ล้างส้มแขกสดหรือส้มแขกแห้งให้สะอาด
2. ใส่น้ำต้มให้เดือด นานประมาณ 15 นาที
3. ใส่น้ำตาลทราย และเกลือ ตามความนิยมของแต่ละพื้นที่ ต้มอีก 5 นาที
4. ยกลงทิ้งไว้ให้เย็นแล้วบรรจุใส่ขวดหรือแก้ว
ส้มแขก นอกจากจะแปรรูปเป็นส้มแขกแห้งและน้ำส้มแขกแล้ว ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตส้มแขกในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ เครื่องดื่มส้มแขกผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มส้มแขกชนิดชง ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดแคปซูล การทำส้มแขกดอง และยาระบาย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

ที่มา:http://samunprideedee.blogspot.com/2010/01/blog-post_19.html

ขี้เหล็กต้านมะเร็ง

สรรพคุณของไพล




1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ

         การศึกษาทางด้านเภสัชวิทยาของน้ำมันไพลทางด้านลดอาการอักเสบ พบว่าเฉพาะน้ำมันสกัดดิบเท่านั้นที่ให้ผลลดอาการบวมอุ้งเท้าหนู ส่วนสกัดย่อยอื่นๆ ไม่ได้ผล การศึกษาเบื้องต้นทางคลินิกพบว่าให้ผลในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อและเคล็ดต่างๆเช่นกัน (1) มีรายงานฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัดไพลด้วยเฮกเซน (2) รวมถึงสารที่สกัดได้จากไพลหลายชนิด เช่น เคอร์คิวมิน ซึ่งเป็นสารสีเหลือง (3-9), น้ำมันหอมระเหย (10-11),และสารอื่นๆ เช่น สาร (E)-4 (3',4'-dimethylphenyl) but-3-en-l-ol ออกฤทธิ์ยับยั้ง prostaglandin (12) นอกจากนี้สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) but-3-en-2-ol ขนาด 2.5 มล./กก เมื่อป้อนเข้าสู่กระเพาะของหนูขาว พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบของอุ้งเท้าหนู ที่เหนี่ยวนำด้วย carrageenin ได้ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการมารวมกันของเม็ดเลือดขาว และ การสร้าง prostaglandin (13)

           สาร (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) มีฤทธิ์ยับยั้งอาการบวมของหูหนูขาวที่เกิดจาก dethyl phenylpropiolate และ arachidonic acid (AA) ได้ดีกว่ายา diclofenac (14-15) DMPBD ยับยั้งการบวมที่เกิดจาก ethyl phenylpropiolate และ 12-o-tetradecanoylphorbol 13-acetate ได้ดีกว่ายา oxyphenbutazone และ phenidone นอกจากนี้พบว่า DMPBD และ diclofenac มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันในการยับยั้งการอักเสบของเท้าหนูขาวที่เกิดจาก carrageenan (16) แต่ที่เกิดจาก platelet activating factor (PAF) ไม่สามารถยับยั้งได้ (16) เมื่อนำ DMPBD มาทดสอบการยับยั้ง platelet aggregation ที่เกิดจาก collagen, adenosine diphosphate, AA และ PAF พบว่าสาร DMPBD สามารถต้านทานฤทธิ์ของ PAF ได้ดีที่สุด

           สาร cassumunarins ที่พบในไพลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจาก 12-o-tetradecanoylphorbol 13-acetate ที่หูของหนูถีบจักร สารดังกล่าวมีฤทธิ์ดีกว่า curcumin (17) และทดสอบสารชนิดหนึ่งที่แยกได้จากสารสกัดด้วยเมทานอลของไพล พบว่ามีฤทธิ์ลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้และอักเสบจากเซลล์ fibroblast ของผิวหนังมนุษย์ (18)

          เมื่อพัฒนาน้ำมันไพลให้อยู่ในรูปของเจล (ไพลเจล) แล้วนำมาทดสอบ พบว่าไพลเจลสามารถลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูได้ ในการศึกษาทางคลินิกพบว่าไพลเจลสามารถลดการบวมได้เทียบเท่ากับ piroxicam gel ทั้งยังลดความแดงและบรรเทาอาการปวดได้ผล (19) เมื่อทดลองนำครีมไพล (ไพลจีซาล) ที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพล 14 เปอร์เซ็นต์ ไปใช้ในผู้ป่วยข้อเท้าแพลง โดยให้ทาวันละสองครั้ง พบว่าสามารถลดการปวดบวมได้มากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อใช้ไปได้ 4 วัน โดยมีการกินยาแก้ปวด (paracetamol) ในสองวันแรกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมด้วย ผู้ป่วยที่ได้รับไพลจีซาล สามารถงอข้อเท้าได้มากกว่ากลุ่มควบคุมแต่การงอของฝ่าเท้าไม่มีความแตกต่างกัน (20)

         จากการทดลองฤทธิ์ของ DMPBD ต่อการยับยั้งการอักเสบพบว่า DMPBD มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase ของกระบวนการเมทาบอลิสมของ arachidonic acid ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (16) และการทดสอบสาร phenylbutenoids ในไพลจำนวน 7 ชนิด ต่อการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการอักเสบ (cyclooxygenase-2) พบว่ามีสาร 4 ชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ได้แก่สาร phenylbutenoid dimer 2 ชนิด มีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเอนไซม์ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) เท่ากับ 2.71 และ 3.64 ไมโครโมลาร์ สาร phenylbutenoid monomer 2 ชนิด มีค่า IC50 เท่ากับ 14.97 และ 20.68 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (21)

2. ฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่

        น้ำคั้นหัวไพลมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยลดอาการปวด (22) โดยน้ำคั้นของไพลความเข้มข้น 300 มก./มล. สามารถลดการนำไฟฟ้าในเส้นประสาท sciatic ของคางคกได้ 84.46 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ยา lidocaine ความเข้มข้น 0.2 มก./มล. ลดการนำไฟฟ้าได้ 93.09 เปอร์เซ็นต์หรือมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์มากกว่าน้ำคั้นของไพล 1500 เท่า (23)

3. ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน

         สารที่แยกได้จากส่วนสกัดเฮกเซนของไพล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านฮิสตามีนในกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา พบว่าสามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ความเข้มข้น 0.533 มก./มล. สารดังกล่าวสามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบหลอดลม ในตัวหนูตะเภาได้ด้วย (24) นอกจากนี้ยังมีการทดสอบฤทธิ์ต้านฮิสตามีนของไพลในผู้ป่วยเด็กโรคหืด โดยฉีดฮิสตามีนที่แขนซ้ายก่อนได้รับยา และฉีดที่แขนขวาหลังการให้กินไพลแห้งบดในขนาด 11-25 มก./กก. 1 ชม.ครึ่ง วัดรอยนูนแดงหลังฉีดฮีสตามีน 15 นาที พบว่าไพลมีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน โดยสามารถลดขนาดของตุ่มนูนที่เกิดจากการฉีดด้วยฮิสตามีน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาคลอเฟนิลามีน (25)

4. ฤทธิ์แก้ปวด

        สาร (E)-4 (3',4'-dimethylphenyl) but-3-en-l-ol จากไพลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดสอบในหนูขาว (12) และไพลเจลมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอก (19, 20)

5. การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์

          การศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์มีรายงานว่า การป้อนสาร B ที่แยกจากสารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ขนาด 25 มก./กก. (26) และ สารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ขนาด 2 ก./กก. (เทียบเท่าสาร D 15 มก./กก.) (27) ให้หนูขาวครั้งเดียว พบว่า ค่าความเข้มข้นสูงสุดในเลือดของสาร B และสาร D เท่ากับ 1.92 มคก./มล. (26) และ 0.75 มคก./มล. (26) ที่เวลา 1.12 ชม. (26) และ 1.04 ชม. (27) หลังได้รับสาร ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบการดูดซึมและการขับออกของสาร D และ Diol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร D ที่สังเคราะห์ขึ้น พบว่าสาร D ดูดซึมเร็วกว่า แต่กำจัดออกจากร่างกายช้ากว่า (28, 29)


6. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย

          สารสกัดจากไพลด้วยไดคลอโรมีเทนแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Bacillus substilis (แบคทีเรียแกรมบวก) และ Pseudomonas aeruginosa (แบคทีเรียแกรมลบ) โดยมีค่าความเข็มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 250 และ 125 มคก./แผ่น แต่สารสกัดจากไพลด้วยเมทานอลไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อทั้งสอง และสารสกัดทั้งสองชนิดไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อ methicillin และ Escherichia coli (30) สารสกัดจากไพลด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินหายใจคือ b-streptococcus group A แต่ไม่สามารถยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus และ Klebsiella pneumoniae ได้ (31) ส่วนสารสกัดจากไพลด้วย ไดเอทิลอีเทอร์ น้ำ และ ปิโตรเลียมอีเทอร์ ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, E. coli, P. aeruginosa และ S. aureus (32) Terpinene-4-ol มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด (9 ชนิด) โดยมีค่า MIC อยู่ในช่วง 2 –5 มก./มล. แต่ sabinene ที่ความเข้มข้นแสดงฤทธิ์ยับยั้งเพียง 5 ชนิด โดยไม่สามารถยับยั้งเชื้อ E. coli, Salmonella typhimurium, Bacteroides fragilis และ Peptococcus sp. (33)


7. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

           มีรายงานว่าสารสกัดจากไพลด้วยไดคลอโรมีเทนและเมทานอลไม่มีผลยับยั้ง Candida albicans (30) ขณะที่บางรายงานพบว่าสารสกัดไพลมีผลยับยั้งเชื้อราดังนี้ สารสกัดไพลสดด้วยเอทานอล ความเข้มข้น 2 มก./แผ่น เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี paper disc diffusion สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชหลายชนิด ได้แก่ Candida albicans, Cryptococcus neoformans, Wangiella dermatitidis, Alternaria alternata, Aspergillus fumigatus, Fusarium oxysporum, Microsporum gypseum, Pseudallescheria boydii, Rhizopus sp. และ Trichophyton mentagrophytes (34) เมื่อนำเชื้อรามาทดสอบกับสารสกัดจากน้ำ, เมทานอล, ไดคลอโรมีเทนและเฮกเซน พบว่าสารสกัดจาก เมทานอล, ไดคลอโรมีเทนและเฮกเซนเท่านั้นที่มีฤทธิ์ต้านยับยั้งการเจริญของรา Epidermophyton floccousm, Microsporum gypseum, Trichophyton mentagrophytes และ Trichophyton rubrum ซึ่งเป็นเชื้อราโรคผิวหนัง (35)

             น้ำมันหอมระเหยจากไพลมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อรา Aspergillus flavus ซึ่งเป็นเชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับอาหาร (36) นอกจากนี้สาร zerumbone ซึ่งเป็นสารพวก sesquiterpene ที่สกัดได้จากไพล มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Rhizoctonia solani ซึ่งเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าในพืช โดยมีค่าความเข็มข้นต่ำสุดที่มีผลฆ่าเชื้อราได้เท่ากับ 1000 มก./ลิตร ซึ่งได้ผลดีกว่ายาฆ่าเชื้อราบางชนิด ข้อดีของสารดังกล่าวคือเป็นพิษกับเชื้อราได้น้อยชนิดและไม่มีพิษต่อพืช โดยการทดลองใช้ป้องกันการเน่าของเมล็ดพืชที่เกิดเชื้อรา R. solani พบว่าสามารถป้องกันได้ถึง 85.7 เปอร์เซ็นต์ (37)

        เมื่อให้ครีมยาที่ผสมสารสกัดจากไพลด้วยแอลกอฮอล์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากที่ขาหนีบจำนวน 89 ราย แต่กลับมารับการตรวจประเมินเพียง 21 ราย พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่กลับมาตรวจภายหลัง 6 ราย มี 2 รายที่รักษาได้ผล แต่ในผู้ป่วยที่ได้รับยา canesten กลับมาตรวจ 7 ราย มีเพียงรายเดียวที่รักษาไม่หาย และผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกกลับมาตรวจ 8 ราย มี 2 รายที่หายจากโรค (38)

8. ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ

         สาร D ที่แยกจากสารสกัดจากไพลด้วยเฮกเซน เมื่อนำมาทดสอบกับกล้ามเนื้อเรียบลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา พบว่าสาร D สามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีน อะเซททิลโคลีน นิโคทีน และเซโรโทนิน ได้อย่างสมบูรณ์ที่ความเข้มข้น 0.533, 0.533, 0.133 และ 0.533 มก./มล. ตามลำดับ และสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมที่ถูกกระตุ้นด้วยฮิสตามีนและกล้ามเนื้อกระบังลมที่ถูกระตุ้นด้วยไฟฟ้าได้ ด้วยความเข้มข้น 0.133 มก./กก. และ 1.23 มก./กก. ตามลำดับ การทดลองในหนูตะเภา พบว่าสารดังกล่าวขนาด 8 มก./กก. สามารถยับยั้งฤทธิ์ของฮิสตามีนที่กระตุ้นให้หลอดลมหดตัวได้ (24) เมื่อนำสารสกัดจากไพลด้วยน้ำมาทดสอบผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหนูขาว พบว่าสามารถยับยั้งการบีบตัวของมดลูก ลำไส้และกระเพาะอาหาร ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 0.09 0.28 และ 0.64 ก./มล. ตามลำดับ แต่ฤทธิ์ดังกล่าวของน้ำสกัดไพลต่อมดลูกและลำไส้สามารถยับยั้งได้โดย syntocinon และ acetylcholine ตามลำดับ เมื่อทดสอบกับกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดแดงจากสายสะดือเด็กทารกไม่พบการออกฤทธิ์ของน้ำสกัดไพลที่ชัดเจน (39) การศึกษาเพื่อหากลไกการออกฤทธิ์ของน้ำสกัดไพล ในมดลูกและลำไส้ของหนูขาว พบว่าเมื่อให้ยากลุ่ม a และ b - adrenergic blocking agents ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของน้ำสกัดไพลได้ แต่ยาหรือสารที่มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบ เช่น calcium, syntocinon และ acetylcholine สามารถยับยั้งผลของสารสกัดได้ แสดงว่าน้ำสกัดไพลอาจจะไม่ได้ออกฤทธิ์กับ a - หรือ b - adrenergic receptor แต่ออกฤทธิ์โดยตรงกับกล้ามเนื้อเรียบโดยลดระดับหรือยับยั้ง calcium หรืออาจจะลดอัตราการเกิด spontaneous action potential ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบโดยตรง (40)


9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

9.1การทดสอบความเป็นพิษ

           การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน ไม่พบอาการเป็นพิษ แม้จะให้สารสกัดไพลด้วยแอลกอฮอล์ 50% ในขนาดเท่ากับไพล 10 ก./กก.ทั้งกรอกทางปาก และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร และเมื่อให้สารสกัด D (แขวนตะกอนใน 2% tween 80) ในขนาดสูงเทียบเท่าไพล 30 ก./กก.ทั้งกรอกปาก และฉีดเข้าทางช่องท้อง แต่เมื่อให้เกลือโซเดียมของสาร D ที่ละลายในน้ำฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 450 มก./กก. จะทำให้หนูมีอาการหายใจลึกและถี่ เคลื่อนไหวน้อย และขาหลังมีอาการอ่อนเปลี้ยกว่าปกติ แต่หนูทั้งหมดยังมีชีวิตอยู่รอดภายหลังการทดลอง การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรัง ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ทั้งจากการตรวจสอบลักษณะทั่วไป (gross examination) และจากการตรวจสอบทางชีวพยาธิวิทยา (24) มีผู้ทดสอบความเป็นพิษในหนูขาว พบว่าขนาดที่ทำให้หนูขาวตายครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 4.00 ก./กก. เมื่อให้ทางหลอดเลือด อาการที่พบคือ ตัวเย็นซีด ชัก หายใจขัด หยุดหายใจและตายในที่สุด การใช้ quinidine 5.6 มก./กก. ร่วมกับ propanolol 2 มก./กก. จะช่วยลดอัตราการตายลง ทำให้ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลองเปลี่ยนเป็น 6.00 ก./กก. (41) การศึกษาพิษเฉียบพลันของตำรับยาแก้หืดไพลในหนูขาว พบว่าขนาดของสารสกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ และเฮกเซน ที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ 20 และ 80 ก./กก.ตามลำดับ การศึกษาพิษกึ่งเรื้อรัง โดยผสมไพล ขนาด 0.5, 3 และ 18% ในอาหารหนู ให้หนูกินเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าในขนาด 18% เท่านั้นที่ทำให้หนูโตช้า แต่ไม่พบความผิดปกติ ในค่าเคมีปัสสาวะและเลือด และการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะ (42, 43) ส่วนขนาดของผงไพลที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูถีบจักร มีค่าสูงกว่า 10 ก./กก.และพบว่ามีพิษต่อตับเมื่อให้ไป 1 ปี และเมื่อให้ในลิง ในขนาด 50 เท่าของขนาดรักษาเป็นเวลา 6 เดือน ไม่พบพิษ (44)

           เมื่อกรอกสารสกัดไพลด้วยแอลกอฮอล์ 50% ในหนูถีบจักร 10 ก./กก. ซึ่งเป็นขนาด 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน และโดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 10 ก./กก. ยังไม่แสดงอาการพิษ (45) เมื่อทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันไพลต่อสัตว์ทดลอง 3 ชนิด ได้แก่ หนูถีบจักร หนูขาว และกระต่าย โดยให้ทางปาก พบว่ามีค่าที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 2.15 ก./กก., 0.86 ก./กก. และ 0.825 ก./กก. ตามลำดับ จึงจัดว่าน้ำมันไพลเป็นสารที่มีความเป็นพิษเล็กน้อย (19) มีการทดสอบความเป็นพิษของ terpinen-4-ol จากน้ำมันไพล กับกระต่ายในเวลา 1-24 ชั่วโมง พบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงกับกระต่าย นอกจากนี้ทดสอบการระคายเคืองของ terpinen-4-ol กับกระต่าย โดยสอดครีมความเข้มข้น 3, 5 และ 7% ปริมาณ 1 มล./วัน เป็นเวลา 10 วัน พบว่าไม่มีผลต่อน้ำหนักกระต่าย แต่มีความผิดปกติกับช่องคลอด, กระเพาะปัสสาวะ, มดลูก, รังไข่, ไตและ ตับ ขนาดของ terpinen-4-ol ที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูตัวผู้คือ 3.55 ก./กก.และในหนูตัวเมียคือ 2.5 ก./กก. (46) นอกจากนี้ terpinen-4-ol ที่ความเข้มข้น 0.016% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออสุจิของวัวเทียบเท่ากับยาสังเคราะห์ Nonyl phenoxy polyethoxy ethanol 0.025 เปอร์เซ็นต์ (1) และ terpinen-4-ol ที่ความเข้มข้น 2.5% ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออสุจิของวัวใกล้เคียงกับยาสังเคราะห์ Delfen (46) ประสะไพลและน้ำสกัดจากประสะไพลที่ให้กับหนูขาว ในปริมาณ 2.5 ก/กก. และ 20 ก./กก. ตามลำดับ เมื่อสังเกตอาการใน 24 ชม.แรกไปจนถึง 14 วันถัดไป ไม่พบอาการพิษปกติและการตายในหนู (47)

9.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

          เมื่อใช้สารสกัดเหง้าไพลด้วยน้ำร้อนในขนาด 0.5 c.c./Disc ไม่มีผลต่อ Bacillus subtillis H-17 (Rec+) และ M-45 (Rec-) (48) น้ำมันหอมระเหย และ terpinen-4-ol ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์กับ Sallmonella typhimuriumสายพันธุ์ TA98, TA100 (10, 46)

ที่มา:http://www.kongkaherb.co.th/mainweb/index.php?option=com_content&view=article&id=114&catid=34&Itemid=86&lang=th


ประโยชน์ของพริก


คุณค่าใบบัวบกกับผิวสวยใส



บัวบก (Gotu kola) 

        เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และแทบทุกคนรู้จักพืชชนิดนี้เป็นอย่างดี คนไทยบริโภคพืชชนิดนี้กันมาช้านานแล้ว พบว่าส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ส่วนของใบและราก บัวบกเป็นพืชที่พบมากในประเทศแถบยุโรป เรื่อยมาจนถึงแถบแอฟริกาใต้ อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา โดยมีประวัติการใช้ประโยชน์ในทางยามานมนาน

         ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน รสและสรรพคุณยาไทย จะมีกลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย โบราณว่าแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้ร้อนใน แก้โรคความดันโลหิตสูง

บัวบกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centella asiatica (L.) Urban อยู่ในวงศ์ Umbelliferae

     เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบหยัก แตกเป็นกระจุก ลำต้นทอดไปแตะดิน ก็จะแตกราก และใบเป็นต้นใหม่อีก ทำให้ขึ้นแผ่ติดต่อกันเป็นพืดไปเป็นบริเวณกว้างได้ ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อคล้ายร่ม ก้านดอกแตกออกจากโคนใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 3-6 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงแดงเข้ม พบตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป ในสวนต่างๆ ตามท้องนา ตามริมน้ำ

สรรพคุณ

         ช่วยให้ความจำดี ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ แก้ช้ำใน ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดรอยเหี่ยวย่น ลดการอักเสบ และเป็นยาอายุวัฒนะ

สารสำคัญ

           ในบัวบกประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ ไตรเตอพีนอยด์
(อะซิเอติโคซัยด์) บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ มาดิแคสโซซัยด์ (ซึ่งเป็น
ไกลโคซัยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ) กรดมาดิแคสซิค ไธอะมิน (วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) ไพริดอกซิน (วิตามินบี 6) วิตามินเค แอสพาเรต กลูตาเมต ซีริน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม
          สารสำคัญที่ได้จากใบบัวบกมีฤทธิ์ในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราและลดอาการอักเสบ


สารไตรเตอพีนอยด์

          ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเปรียบเสมือนร่างแหที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังเป็นผนังที่หุ้มล้อมรอบหลอดเลือดอีกด้วย
ใบบัวบกจึงสามารถลดความดันเลือดได้เนื่องจากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เส้นเลือด
ใบบัวบกมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนผ่านเส้นเลือดฝอย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบวม เส้นประสาทเสื่อม เหน็บชา และแขนขา
อ่อนแรงทำให้ผิวหนังเต่งตึงและมีความยืดหยุ่นขึ้น ตลอดจนช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็น และช่วยในขบวนการหายของแผล เนื่องจากใบบัวบกจะควบคุมไม่ให้เกิดการสร้างคอลลาเจนบริเวณแผลมากจนเกินไป
       นิยมนำใบบัวบกไปใช้ในการรักษาแผลต่างๆ อาทิเช่น แผลผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง แผลไฟไหม้
น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง หรือแม้แต่แผลจากโรคเรื้อน
รักษาแผล

           พบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วงเร่งการสร้างสารคอลลาเจนที่เป็นโครงสร้างของผิวหนึง จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น
การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าสารไตรเตอพีนอยด์ (triterpenoids) มีผลเสริมความแข็งแรงของผิวหนัง เพิ่มปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระในบาดแผล และช่วยเพิ่มปริมาณเลือดไหลเวียนไปยังบริเวณบาดแผลผลิตภัณฑ์ใบบัวบกชนิดทาผิวหนังมีหลายรูปแบบในท้องตลาด เหมาะสำหรับแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคสะเก็ดเงิน ป้องกันแผลผ่าตัดเกิดแผลเป็น ป้องกันแผลฝีเย็บเกิดแผลเป็น และใช้รักษาแผลรูเปิดทวารหนักชนิดภายนอก

โรคผิวหนัง

         จากการศึกษาผลการใช้ใบบัวบกเพื่อรักษาโรคเรื้อนและวัณโรคที่ผิวหนัง
พบว่าสารอะซิเอติโคไซในใบบัวบกสามารถทำลายสารเคลือบผิวที่หุ้มแบคทีเรีย (ปกติภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำลายสารเคลือบผิวตัวนี้ได้)
ทำให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปจัดการกับเชื้อแบคทีเรียได้โดยตรง
ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด
1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิท และเกิดแผลเป็นชนิดนูนน้อยลง
สารที่ออกฤทธิ์คือ กรดมาดิแคสซิค กรดอะเชียติก และสารอะเชียติโคซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยสมานแผล และเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ สามารถระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย


ลดรอยตีนกา

       ใช้ใบบัวบกสดๆ ล้างให้สะอาด หั่นฝอยประมาณ 1/2 ถ้วย เติมน้ำต้มสุกนิดหน่อย นำไปปั่นให้เป็นน้ำข้นๆ กรองเอาแต่น้ำ
          ใช้สำลีชุบทาทั่วใบหน้า หรือจะใช้สำลีแปะไว้ที่ผิวใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะช่วยบำรุงผิวหน้าให้เต่งตึงไร้ริ้วรอย เพราะใบบัวบกมีสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอิลาสตินให้ทำงานได้ดีขึ้น


         จากบทความด้านบนเพื่อนๆจะเห็นได้ว่าใบบัวบกนั้นมีประโยชน์มากมายสมกับเป็นพืชสมุนไพรของไทย ไม่ว่าช่วยในเรื่องการแพทย์อย่างการรักษาแผลหรือโรคผิวหนัง โดยเฉพาะการวิจัยใหม่ๆที่ค้นพบว่าสามารถช่วยลดรอยตีนกาบนใบหน้าซึ่งมีสารกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอิลาสตินให้ทำงานได้ดีขึ้น

ที่มา:http://www.sabuyjaishop.com/shop/sawasdee8riew/default.aspx?page=articledetail&url=sawasdee8riew&articleid=ajektkexr5vupy45nlre13420115119


สะเดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton

ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

วงศ์ :   Meliaceae

ชื่ออื่น :  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

          ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี  
ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด

สรรพคุณ :

 ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี

ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ

เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด

ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย

กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ

ยาง - ดับพิษร้อน

แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ

ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก

ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ

ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ

เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง

น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

เป็นยาขมเจริญอาหาร

           ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว

ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

         สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย

สารเคมี :

          ผล   มีสารขมชื่อ bakayanin
          ช่อดอก  มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5%  นอกนั้นพบ  nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
          เมล็ด  มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
          Nim Oil  มี nimbidin  เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย

ที่มา:http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm

สรรพคุณของบอระเพ็ด



ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5  เถาสด


สรรพคุณ :

ราก  

- แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
- ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- เจริญอาหาร

ต้น

- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
- บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
- แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
- แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
- เป็นยาขมเจริญอาหาร
- เป็นยาอายุวัฒนะ

ใบ

- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
- ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
- บำรุงธาตุ
- ยาลดความร้อน
- ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
- รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยให้เสียงไพเราะ
- แก้โลหิตคั่งในสมอง
- เป็นยาอายุวัฒนะ

ดอก

- ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู

ผล

- แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
- แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ

ส่วนทั้ง 5บำบัดรักษาโรค ดังนี้

- เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก ฝีมุตกิต แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ เลือดลม แก้ไข้จับสั่น

วิธีการและปริมาณที่ใช้ :

          ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้

อาการไข้ ลดความร้อน

- ใช้เถาแก่สด  หรือต้นสด ครั้งละ 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
- หรือใช้เถาสด ดองเหล้า ความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ของยาที่เตรียมแล้ว

เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร
โดยใช่ขนาดและวิธีการเช่นเดียวกับใช้แก้ไข้

สารเคมี : 

        ประกอบด้วยแคลคาลอยด์หลายชนิด  เช่น Picroretine, berberine นอกจากนี้ยังประกอบด้วย  colonbin, tintotuberide, N - trans - feruloyltyramine, N - cisferuloytyramine, phytosterol, methylpentose

ที่มา: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_4.htm

ชุมเห็ดเทศ


สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู)





คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู

        คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู


ประโยชน์ของใบชะพลู

         ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


สรรพคุณของใบชะพลู

- ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
- ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
- ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
- ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก


ข้อควรระวัง

         อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล 

ที่มา:http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9


ประโยชน์ของมะขามป้อม





ประโยชน์ของมะขามป้อม

แก้หวัด

          ผลมะขามป้อมมีสรรพ-คุณแก้หวัด แก้ไอได้ดี เป็นที่รู้กันในทุกประเทศที่มีมะขามป้อม จนปัจจุบันมีสิทธิบัตรจดในประเทศสหรัฐอเมริกาของตำรับยาที่มีส่วนผสมของ มะขามป้อมอยู่ระบุสรรพคุณในการแก้หวัด แก้ไข้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากวิตามินซีหรือสาร ในกลุ่มแทนนิน
อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ให้ใช้ผลสด ๑๕-๓๐ ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว

ไข้จากเปลี่ยนอากาศ

          ใช้มะขามป้อมสดตำคั้นน้ำดื่ม จะช่วยลดไข้ได้ ดื่มวันละ ๓-๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา น้ำคั้นมะขามป้อมเป็นยาเย็นช่วยลดความ ร้อน และระบายความร้อนออกจากร่างกาย โดยช่วยขับปัสสาวะและระบายท้อง

ไอ เจ็บคอ เสมหะติดคอ

          ตามตำรายาไทยเชื่อว่าของที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิดช่วยละลายเสมหะ และหมอยา พื้นบ้านเชื่อว่ารสเปรี้ยวที่ละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้ดีที่สุดคือมะขามป้อม ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าในมะขามป้อมมีสารที่ละลายน้ำได้มีฤทธิ์ละลายเสมหะ และที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีการพัฒนายาแก้ไอมะขามป้อมขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณ เป็นที่นิยมของทั้งผู้ใช้ยาและแพทย์ โดยตำรับยาทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ นำมะขามป้อมแห้งมาต้มแล้วแต่งรส
***มะขามป้อมที่จะนำมากินแก้ไอ เจ็บคอ ควรเลือกลูกที่แก่จัดจนผิวออกเหลือง
เมื่อมีอาการเป็นหวัด ไอ ให้นำมะขามป้อมสดมาเคี้ยวอมกับเกลือทุกครั้งที่มีการไอ
ถ้าไม่ไอแต่ยังมีไข้อยู่ก็ควรอมมะขามป้อมเพื่อให้ชุ่มคอและขับเสมหะ เป็นการป้องกันการไอได้ด้วย

ละลายเสมหะ

           แก้การกระหายน้ำ ใช้ผลแก่จัด มีรสขม อมเปรี้ยว อมฝาด เมื่อกินแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ ใช้สำหรับช่วยละลายเสมหะ กระตุ้นให้เกิดน้ำลาย จึงช่วยแก้การกระหายน้ำได้ดี หรือใช้ผลแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ถ้าใช้ผลสดประมาณ ๑๐ กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือคั้นเอาน้ำสำหรับดื่ม

ขับเสมหะ หรือช่วยระบายของเสีย ให้ใช้ผลสด ๕-๑๕ ผล ต้มหรือคั้นน้ำมาดื่ม

บำรุงเสียง

         มะขามป้อมสดสามารถช่วยบำรุงเสียงได้ เพราะเวลาอม มะขามป้อมจะทำให้ชุ่มคอ คอไม่แห้ง เสียงจะสดใส นักร้องสมัยก่อนมักจะเฉือนลูกมะขามป้อมชิ้นหนึ่งมาอมไว้จนร้องเสร็จเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงแห้ง

บำรุงผม

            ผลแห้งของมะขามป้อมมีสรรพคุณ เป็นสารชะล้างอ่อนๆ คนอินเดียนิยมนำมา ใช้ทำเป็นแชมพูสระผม คนอินเดียเชื่อว่ามะขามป้อมบำรุงผม ช่วยทำให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัย ป้องกันผมร่วง
           ในอินเดียมีการนำมะขามป้อมมาทำเป็นน้ำมันบำรุงให้ผมดกดำ ป้องกันการหงอกก่อนวัย
นำลูกมะขามป้อมมาฝานเป็นแว่นเล็กๆ ตากให้แห้งในที่ร่ม นำมาทอดในน้ำมันมะพร้าว ทอดจนเนื้อมะขามป้อมไหม้เกรียม แล้วกรองเก็บไว้ทาผมเป็นประจำ ยาน้ำมันนี้ ถ้าได้ เนื้อลูกสมอไทยและดอกชบาแดง ใส่ลงไปทอดด้วย จะทำให้น้ำมันมีสรรพคุณดียิ่งขึ้น ซึ่งตำรับนี้โรงพยาบาลเจ้าพระยา- อภัยภูเบศรได้พัฒนามาเป็นน้ำมันหมักผมมะขามป้อม สมอไทย และได้ใส่ดอกอัญชันลงไปแทนดอกชบา ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก วิธีทำก็ง่ายๆ ตามที่เขียนไว้ในสูตร    น้ำแช่ลูกมะขามป้อมแห้งสามารถบำรุงผมได้ ขั้นตอนก็คือ นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๑ กำมือ แช่ในน้ำ ๑ ขัน แช่ไว้ตลอดคืน เมื่อเวลาสระผมเสร็จแล้ว ให้เอาน้ำแช่มะขามป้อมนี้ล้างเป็นน้ำสุดท้ายมีการศึกษาพบว่าสารในมะขามป้อมช่วยกระตุ้นการงอกของผม และมีการจดสิทธิบัตรส่วนผสมที่มีมะขามป้อมที่ใช้กับเส้นผม

บำรุงร่างกายให้แข็งแรง

         มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มากเช่นเดียวกับสมอไทย
         ตำรายาอินเดียยกย่องมะ ขามป้อมไว้มากว่า เป็นผลไม้บำรุงร่างกายที่ดีมาก ตำราบางเล่มถึงกับกล่าวว่า ถ้าคนอินเดียไม่มองข้ามมะขามป้อม คือเอามะขามป้อมมากินเป็นประจำวันละ ๑ ลูก ทุกวัน เขาเชื่อว่าคนอินเดียจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงกว่านี้มากนัก ทั้งนี้เพราะมะขามป้อมบำรุงอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย คือ บำรุงผม สมอง ดวงตา คอ หลอดลม ปอด หัวใจ กระเพาะ ลำไส้ ตับ ไต ตับอ่อน ผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย ปรับประจำเดือนให้มาปกติ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันเลือดสูง ปัจจุบันมีการศึกษาพบประโยชน์มากมายของมะขามป้อมในการลดความดัน ลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือด
          การกินมะขามป้อมช่วยควบคุม โรคเบาหวานทางอายุรเวท พบว่าการ ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๕ ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด ๑ ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้ การกินยาตำรับนี้ต้องมีการควบคุม อาหารอย่างเข้มงวด และยาตำรับนี้ยังลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน

ลักปิดลักเปิด

            มะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมาก และเป็นวิตามินซีธรรมชาติ ที่มีสรรพคุณดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ทด-ลองให้คนกินยาเม็ดวิตามินซีกับกินมะขามป้อมเปรียบเทียบกัน
พบว่า วิตามินซีจากมะขามป้อมถูกดูดซึมเร็วกว่าวิตามินซีเม็ด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในมะขามป้อมมีสารอื่นๆ ที่ช่วยพาวิตามินซีเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว
มะขามป้อมที่ผ่านการต้ม หรือตากแห้ง ทำให้วิตา-มินซีลดลง แต่ก็ยังเพียงพอที่จะใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิดได้ ถ้าเก็บไว้ไม่เกิน ๑ ปี

กระหายน้ำ

         มะขามป้อมสดๆ เมื่อรู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำจัด ถ้าดื่มน้ำมากกะทันหันจะทำ ให้จุกเสียดไม่สบายได้ ถ้าได้อมมะขามป้อมก่อน อาการกระหายน้ำและคอแห้งอย่างแรงจะรู้สึกดีขึ้นทันที ไม่ทำให้ ดื่มน้ำมากไป เหมาะแก่การเดินทางไกล วิ่งมาราธอน
เวลาอมก็ใช้ฟันกัดลูกมะขามป้อมให้พอมีน้ำซึมออก มา แล้วดูดลงคอไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด

ท้องผูก

             คนที่ท้องผูกประจำ ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าได้กินมะขามป้อมแล้วอาการท้องผูกจะหายไป
เนื่องจากมะขามป้อมมีรสฝาด จะทำให้กินยากไปสักหน่อย ควรปรุงรสให้อร่อย ด้วยการนำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ ๑๐ ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอนหรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
วิธีลดความฝาดของมะขามป้อม ก็คือแช่น้ำเกลือ มีขั้นตอนดังนี้
ล้างมะขามป้อมให้สะอาด ลวกด้วยน้ำร้อน และนำไปแช่ในน้ำเกลือที่เค็มจัด แช่ไว้สัก ๒ วัน รสฝาดก็จะลดลง ยิ่งแช่นานรสฝาดก็ยิ่งหมดไป

ไข้ทับระดู

            นำมะขามป้อมแห้งจำนวนเท่ากับอายุของผู้ป่วย ลูกสมอไทยแห้งจำนวนเท่า กับอายุของผู้ป่วย ใบมะกาแห้ง ๑ กำมือ เกลือนิดหน่อย ใส่น้ำท่วมยา ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที ในวันแรกที่กินให้กินเว้นระยะห่างทุก ๔-๖ ชั่วโมง ครั้งละ ๑ แก้ว วัน ต่อมาให้กินวันละ ๒ ครั้งครั้งละ ๑ แก้ว เช้า-เย็น กิน ๓ วันหาย หลังจากกินยาไปแล้ว ๑๒ ชั่วโมงอาการจะดีขึ้น คืออาการปวดหัวเมื่อยตัว ปวดท้อง ทุเลาลง

คันจากเชื้อรา

         ใช้รากมะขามป้อมสับเป็นชิ้นเล็กๆ พอประมาณ ต้มให้เดือดนาน ๑๕ นาที นำมาทาบริเวณที่มีเชื้อรา วันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น
          หลังจากทาแล้วประ-มาณ ๒-๓ ชั่วโมงอาการคันจะค่อยๆ ลดลง และจะค่อยๆ หายไปภายใน ๑ สัปดาห์

น้ำกัดเท้า-ฮังกล้า

           น้ำกัดเท้า หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า “ฮังกล้า” เกิดจากการถอน ต้นกล้าแล้วเอารากกล้าฟาดตีกับข้อเท้าให้ดินโคลนหลุดออกจากรากกล้า ต่อมาเท้าเกิดโรคตุ่มคันขึ้น จะมีอาการคันมาก ยิ่งเกาก็ยิ่งแตกทั่วรอบข้อเท้า ภาคอีสานเป็นกันมาก บางคนก็เรียกว่า “เกลียดน้ำ” ให้ใช้เปลือก ต้นมะขามป้อมตำให้ละเอียด ผสมน้ำพอเปียกชะโลมให้ทั่ว รักษาได้

           ถ้าเกามากจนหนังถลอก น้ำเหลืองไหล ปวดแสบปวดร้อน คือโรคเป็นหนักแล้ว ให้เอาลูกมะขามป้อมแก่ๆ สดๆ มาใส่ในโพรงเหล็กผาลไถนา ใส่น้ำให้เต็มโพรงเหล็กผาลนั้น ตั้งไฟจนมะข้ามป้อมเละ และมีสีดำเหนียว เมื่อเอามาทาแล้วยาจะแห้งเข้าจนดำหมดทั้งหลังเท้าที่แตกเป็นน้ำเหลืองไหล แผลนั้นจะค่อยๆ หายไปจนเป็นปกติ
           นอกจากนี้แล้วก่อนลงนาหรือหลังจากขึ้นมาจากนา ชาวนาสมัยก่อนนิยมนำเปลือกต้นมะขามป้อมมาแช่เท้าเพื่อฆ่าเชื้อโรคและความฝาดของเปลือกมะขามป้อมยังช่วยตะกอนโปรตีนทำให้ผิวหนังของเท้าและข้อเท้าหนาขึ้น ทนทานต่อการเกิดน้ำกัดเท้ามากยิ่งขึ้น

บิด

          ถ่ายเป็นบิด ใช้เปลือกต้นมะขามป้อม ต้มใส่ข้าวเปลือกเจ้าดื่มต่างน้ำ
          ตำราอินเดียบอกว่า ลูกมะขามป้อมใช้แก้ท้องเสียและบิดได้ดี ด้วย การนำมะขามป้อมสด ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ๓-๔ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๒๐ นาที ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ทุกครั้งที่ถ่าย หรือดื่มทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ใบมะขามป้อมมีสรรพคุณแก้บิดและท้องเสียได้เช่นกัน นำใบตำให้ละเอียด ดื่มครั้งละ ๑ ช้อนชา ทุก ๒-๔ ชั่วโมง    ถ้าจะให้ดื่มง่ายควรผสมน้ำผึ้งเพื่อให้มีรสชาติกลมกล่อม

ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย

          นำลูกมะขามป้อมแห้ง ๓-๕ ลูก แช่ในน้ำ ๑ แก้ว ตลอดคืน ตื่นเช้าดื่มทั้งน้ำและกินเนื้อทุกวันจนกว่าอาการจะหาย
          มะขามป้อมยังแก้กระเพาะอาหารอักเสบและโรคกระเพาะอาหาร มีกรดมากเกินไปได้ด้วย
ถ้าจะใช้แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ให้กินผงลูกมะขามป้อมวันละ ๔ ครั้ง ครั้งละ ๑-๒ ช้อนชา ก่อนอาหารและก่อนนอน
        หลอดลมอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ ใช้รากแห้ง ๑๕-๓๐ กรัมต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำอย่างน้อยวันละ ๓-๔ ครั้ง

แก้น้ำเหลืองเสีย

         คนที่มีน้ำเหลืองเสีย คือคน ที่เป็นแผลแล้วหายช้า แผลมีน้ำเหลืองไหลมาก หรือผิวหนังถูกอะไร นิดหน่อยก็คันแล้ว หรืออยู่ดีๆ คันทั่วตัว
         ในคนที่มีน้ำเหลืองเสียควรกิน มะข้ามป้อม ๑ ลูก หลังอาหารเป็นประจำทุกวัน

แก้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นคัน

         ใช้ใบสด ปริมาณพอเหมาะ ต้มกับน้ำปริมาณหนึ่งเท่าตัว ใช้อาบหรือ ชะล้างส่วนที่เป็น ให้ทำบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ผิวหนังดีขึ้น

ขับพยาธิ

         ใช้น้ำคั้นลูกมะขามป้อม ๑ ช้อนชา ผสมกับน้ำกะทิมะพร้าว ๑ ถ้วย ดื่มวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกัน ๑ สัปดาห์ ขับพยาธิตัวตืด และพยาธิปากขอ

หิด ผื่นคัน

          นำเมล็ดในลูกมะขามป้อม มาเผาจนเป็นถ่าน บดให้ละเอียด ผสมด้วยน้ำมันพืช พอให้ยาเหลว ข้น ทาวันละ ๒-๓ ครั้ง น้ำมันนี้ใช้ทาดับพิษน้ำร้อนลวก และใช้รักษาแผลได้ด้วย

แก้ปวดฟัน

         แก้ปวดฟัน ใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำ ใช้อมและบ้วนปาก บ่อยๆ จะบรรเทาอาการปวดฟัน

มะขามป้อมแปรรูป

           ปัจจุบันในต่างประเทศมีผลิตภัณฑ์มะขามป้อมมากมายจำหน่ายในรูปของชา อาหารสุขภาพ เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นตำรับบำรุงสุขภาพ ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ เพิ่มภูมิคุ้มกัน และต่อสู้กับการหลุดร่วงของเส้นผม ลบรอยจุดด่างดำ ซึ่งในประเทศไทยโรง-พยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมะขามป้อม โดยพัฒนาเป็นยาแก้ไอ น้ำมันหมักผมมะขามป้อมสมอไทยเพื่อบำรุงผม น้ำมะขามป้อมเพื่อบำรุงสุขภาพและอยู่ระหว่างการทำเป็นครีมลบรอยด่างดำบนใบหน้า ซึ่งตำรับต่างๆ สามารถทำได้ง่ายๆ

ที่มา:  http://www.samunpri.com/kitchendrugs/?p=202

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555



สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะกรูด

ขับลมแก้จุกเสียด วิธีใช้

1. ตัดจุกผลมะกรูดคว้านไส้กลางออกเอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียมบดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้
2. น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน
3. เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู
4. เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน
5. เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู (เชษฐา, 2525)


ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค

- แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 
- 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
- ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือลนไฟให้เปลือกนิ่มบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
- เป็นยาสระผมหรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิวทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาดนอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม

       นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้วยังมีรายงานว่าน้ำมันจากใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส (บัญญัติ, 2527)


สารเคมีที่สำคัญ

        สารเคมีที่สำคัญที่พบในมะกรูดนี้จะอยู่ในส่วนของน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีทั้งในส่วนใบและเปลือกของผลที่เรียกว่า ผิวมะกรูด โดยที่ผิวมะกรูดจะมีน้ำมันหอมระเหย 4 เปอร์เซ็นต์ และใบจะมีน้ำมันหอมระเหย 0.08 เปอร์เซ็นต์

        มะกรูดเป็นพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมนุษย์ได้รู้จักนำเอาประโยชน์ที่ได้รับจากมะกรูดเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมของยา ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะและระงับการไอ ส่วนใบใช้ในการดับกลิ่นคาวในอาหารใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด และผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางและน้ำของมะกรูดมีกรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม นอกจากนี้ผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพื่อกำจัดรังแคที่มาจากเชื้อรา



วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สารพัดประโยชน์ของ "กระเจี๊ยบแดง"





















ารพัดประโยชน์ของ "กระเจี๊ยบแดง"

          หนึ่งในสมุนไพรที่คนทั่วไปรู้จักกันดีคงหนีไม่พ้น "กระเจี๊ยบแดง" ว่ามีคุณสมบัติช่วย ลดความดันโลหิตสูง แต่สมุนไพรดี ๆ จะมีคุณสมบัติแค่เพียงอย่างเดียวล่ะหรือ  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี   ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการใช้กระเจี๊ยบแดงได้อีกมาก ลองมาไล่ดูกันทีละส่วนเลยดีกว่า
  • ใบอ่อนและยอด ใช้แต่งรสเปรี้ยว ใส่ต้มหรือแกง
  • ผลอ่อน ต้มรับประทานติดต่อกัน 5 - 8 วัน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • ผลแห้ง ป่นเป็นผง รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มน้ำตามวันละ 3 - 4 ครั้ง ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ
  • เมล็ด บดเพื่อเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และยาบำรุง
  • กลีบเลี้ยงสีแดง ใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วย ลดความหนืดของเลือด ป้องกันต่อมลูกหมากโต
         จะเห็นได้ว่าสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเจี๊ยบแดงมีประโยชน์มากมายอย่างที่นึกไม่ถึงมาก่อน อย่างไรเสียโอกาสหน้าก็อย่าลืมคิดถึงสมุนไพรใกล้บ้านรักษาอาการเจ็บป่วย ก่อนที่จะไปเสียตังค์ซื้อยาก็น่าจะดีไม่น้อยเลย



ที่มา:http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=3344347007816223806