บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร


ขมิ้นชัน


ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
        ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ,ซี,อี ทั้ง 3 ตัว วิตามินที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานได้ ต้องมีพร้อมกันทั้ง 3 ตัว ซึ่งจะมีผลทำให้ 
                           - ช่วยลดไขมันในตับ 
                           - สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร 
                           - ช่วยย่อยอาหาร 
                           - ทำความสะอาดให้ลำไส้ 
                           - เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ 
                           - ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ 
                           - สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง 
                           - กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง 
                           - ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

กินขมิ้นชันให้ตรงเวลา
           กินตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ

กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร
          ไม่ใช่กินเป็นยา ต้องกินให้สนุก ไม่ต้องถึงกับเฮฮาปาร์ตี้ แค่ใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน

กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้

( เวลา 03.00 - 05.00 น. ) ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเรงปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

( เวลา 05.00 - 07.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันในเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของสำไส้ใหญ่ ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป แต่ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้ชันพร้อมกับสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว หรือนำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

( เวลา07.00 - 09.000 น. ) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

( เวลา 09.00 - 11.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลในปาก อ้วนเกินไปผอมเกินไปที่เกี่ยวข้องกับม้าม ลดอาการเป็นเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

( เวลา 11.00 -13.00 น. ) ใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่มี ก็กินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลย 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปที่ผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป

( เวลา 13.00 - 15.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป

( เวลา 15.00 - 17.00 น. ) ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

     กินเหลือเลยเวลาจากช่วงนี้จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยเพลีย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น การกินขมิ้นชันมากจะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่ให้เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินในปริมาณมาก 


มะแว้งเครือ






ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
            เป็นไม้เถาสีเขียวขนาดเล็ก แกมไม้พุ่ม มีหนามโค้งงอ แหลมคม ไม่มีขน ใบเดี่ยว แผ่นใบเขียวเป็นมัน เรียงสลับ มักเป็น กระจุกตามปลายกิ่ง ใบป้อมรูปไข่ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 1.5-6 ซม.  สีเขียวอ่อนทั้งสองด้าน ขอบใบหยัก ปลายมน โคนตัดหรือสอบแคบ เรียงสลับกัน ก้านใบแกนกลางใบมีหนาม ดอกเป็นช่อสั้นๆ  ออกตามง่ามใบใกล้ยอด 2-8 ดอก ก้านช่อดอกมีหนาม ดอกย่อยสีม่วงชมพู  กลีบดอกชั้นนอกเหมือนจานปลายแบ่งเป็นแฉก 5 แฉก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. แฉกจะคงอยู่จนเป็นผล
กลีบดอกสีม่วงชมพู ฐานติดกัน เกสรตัวผู้สีเหลือง 5 อัน เห็นรวมกันตั้งเป็นแท่ง ผลอวมน้ำกลมขนาดเล็กกว่ามะเขือพวง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ผิวเรียบเกลี้ยง ผลดิบมีลายสีขาวเทา มีกระสีเขียว เมื่อสุกเปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดงสด นิ่ม ภายในมีเมล็ดแบนๆ สีน้ำตาลมาก ผลมีรสขม ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลแก่สด 

สรรพคุณ
         1. แก้ไอ ลุกมะแว้งเครือสดๆ ๕-๖ ลูก นำมาเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำ จน หมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอ ได้ผลดี 
         2. แก้เบาหวาน เอาลูกมะแว้งเครือ ๑ กำมือ ทอดกับไข่ไก่ ๑-๒ ฟอง รับประทานทุกวัน ติดต่อกันประมาณ ๓๐ วัน โรคเบาหวานจะ หาย ไป
         3. แก้เบาหวาน เอาต้นมะแว้งเครือทั้ง ๕ และต้นเหงือกปลาหมอ ทั้ง ๕ อย่างละ ๓ กำมือ ต้มกินแก้เบาหวาน กินครั้งละ ๑ ถ้วยแกง เช้า-เย็น
        4. แก้ไอเจ็บอก เอาเถามะแว้งเครือ พร้อมลูกมะแว้งแก่ บอระเพ็ด ยาว ๒ คืบ หัวแห้วหมูสดๆ กระเทียมสด ปอกเอาเปลือกออก ๓ กำมือ เกลือสมุทร ๑ กำมือ 
เอายาทั้งหมดต้มเคี่ยวให้ได้น้ำยาแก่มากๆ
        5. แก้ขัดเบา เอาต้นมะแว้งเครือ ทั้ง ๕ ใส่หม้อดิน ต้มกับน้ำ พอควร ต้มเคี่ยวให้เดือด ใช้น้ำยารับประทาน มีสรรพคุณแก้ขัดเบา (ถ่ายปัสสาวะไม่ออก) ได้ผลอย่างชะงัดนักแล


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาอื่นๆ
       1. ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อให้กระต่ายกินสารสกัดจากมะแว้งเครือด้วยน้ำและแอลกอฮอล์  มีผลลดระดับน้ำตาลได้น้อยและฤทธิ์อยู่ไม่ นาน ไม่แน่นอน
และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์จากผลมะแว้งเครือมี ผลลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายได้ ภายใน 2 ชม.และ 1 ชม. หลังจากให้กินเข้าไปตามลำดับ แต่ไม่ได้ระบุขนาดที่ใช้ และได้มี การทดลองแยกส่วนของสารสกัด ผลมะแว้งเครือ ตามกลุ่มของสารเคมี เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดพบว่าเมื่อฉีดสารสกัด ซึ่งมีสารประกอบ ประเภทไกลโคไซด์ 10% เข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10 ml
สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายได้ 
       2. ฤทธิ์เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จากการทดลองของประเทือง เมื่อฉีดสารสกัดซึ่งมีสารประกอบ ประเภทแอลคาลอยด์ 0.1% จากมะแว้งเครือ เข้าใต้ผิวหนัง ของกระต่ายขนาด 10 ml พบว่าสามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้
       3. ฤทธิ์รักษาหอบหืด จากการทดลองของ Govindan และคณะ พบว่ามะแว้งเครือ ทั้งต้นป่นเป็นผงสามารถช่วยรักษา mild to moderate bronchial asthma ได้ 
สารที่พบ ใบ พบ tomatid-5-en-3-?-ol ดอก พบ alkaloid, cellulose, pectins, unidentified organic acid,
lignin, unidentified saponin  ผล พบ enzyme oxidase 

ข้อมูลทางพิษวิทยา 
       Sobatum เป็นสารที่ได้มาจากมะแว้งเครือ จากการศึกษาความเป็นพิษ ของ Sobatum ทั้งในระยะเฉียบพลันและ กึ่งเฉียบพลันในหนู  พบว่า Sobatum ไม่ได้มีผลให้เกิดอาการเป็นพิษหรือตายหลัง จากฉีดเข้าไปในหนูหรือจนกระทั่งจบระยะ เวลาการศึกษา และไม่มีผลเปลี่ยนแปลง blood parameters ต่างๆ ของหนู 



กระชาย




สรรพคุณของกระชาย

      กระชายมีรสเผ็ดร้อน ในรากและเหง้าของกระชายมีสารที่สามารถมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ภายในลำไส้ ช่วยขับลม ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กระชายช่วยให้ เจริญอาหาร และยังช่วยแก้โรคในช่องปาก ได้เป็นอย่างดี

 - ช่วยในการแก้บิด อาการท้องร่วง ท้องเสีย โดยการนำรากกระชาย ไปย่างไฟ แล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส นำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่ม เพื่อช่วยในการรักษาอาการดังกล่าว

- ช่วยในการ รักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยการนำกระชาย ไปต้มพร้อมกับมะขามเปียก แล้วเติมเกลือแกงเล็กน้อย จากนั้นนำมารับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ให้ดีขึ้น

 -ช่วยบำรุงกำลัง เพราะว่ากระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเรา นำเอากระชายมาตำรากกระชาย 1 กำมือ ให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง นำมารับประทานก่อนอาหารเย็น ช่วยในการบำรุง ร่างกาย บำรุงกำลังด้วย

-  สามารถ ช่วยบำรุงหัวใจ เพื่อช่วยกระตุ้นให้หัวใจ ให้มีการเต้นสม่ำเสมอ โดยการ นำเอากระชาย แห้งนำมาบดให้เป็นผง นำมาชงละลายกับน้ำร้อน แล้วดื่มเป็นประจำ

-      กระชาย ช่วยแก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า นำกระชายล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้ว บดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน 3 เท่า ของปริมาณกระชาย หุง ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15 นาที จากนั้นแล้ว กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ ในขวด นำมาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน รับรองว่าหายแน่นอน

-  ช่วยแก้คันศีรษะจากเชื้อรา ด้วยสูตรทำแชมพู สระผมสูตรน้ำมัน จากที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้แทนน้ำมันมะพร้าว   หรือจะใช้น้ำมันกระชาย โกรกผม ให้ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที แล้วนวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก เพียงเท่านี้ หนังศีรษะของเรา ก็จะสะอาดมากขึ้น

-  การนำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกัน ใช้ฉีด บริเวณที่มีแมลงรบกวน ได้อีกด้วย

- ช่วยในการ บำบัดโรคกระเพาะ โดยการกินรากสด เพียงวันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน กินนาน 2 สัปดาห์ ถ้าหากว่า เผ็ดร้อนเกินไป หลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือก ขนาดเท่ากับ 2 ข้อ นิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์ แทนได้เหมือนกัน

- ช่วยในการบรรเทาอาการแผลในปาก โดยการนำเอากระชาย นำมาปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่ง กับน้ำสะอาด 1 แก้ว เติมเกลือ ลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง นำมากลั้วปากเพื่อ ช่วยในการรักษาอาการ แผลในปาก

- แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชาย โดยไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก วันล่ะ 3 มื้อ

- ผงกระชายทั้งเปลือก บดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน  ช่วยในการ บำรุงร่างกาย ได้อีกด้วย






ที่มา : http://www.biletban.com/2012/04/03/

          http://thaitechno.net/t1/knowledge_detail.php?id=946&uid=39562

สูตรสมุนไพรกำจัดสิวอักเสบหรือสิวหัวช้าง

สูตรสมุนไพรรักษาสิวอักเสบหรือสิวหัวช้าง
สิวอักเสบหรือสิวหัวช้างนั้น มักเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน เพราะปกติแล้วต่อมไขมันจะสร้างให้ผิวมีความชุ่มชื้น  และระบายออกมาทางผิวหนัง เพราะเมื่อใดที่ต่อมไขมันที่สัมพันธ์กับรากขนบริเวณดังกล่าวเกิดแตกแล้วทะลุไปยังผิวหนังชั้นล่าง ก็จะทำให้ผิวตรงนั้นเป็นตุ่มแดง ๆ ซึ่งถ้าอักเสบมาก ๆ ก็จะกลายเป็นหนองขึ้นมา หรือบริเวณที่อักเสบใหญ่ ก็อาจจะกลายเป็นซีส ยิ่งถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียมาด้วยก็ยิ่งทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้นกลายเป็นสิวหนองหรือสิวหัวช้างขึ้นมา

สูตรสมุนไพรรักษาสิวอักเสบ มีส่วนผสมดังต่อไปนี้
•ขมิ้นชันผง 1/2 ช้อนชา
•ดินสอพองผง 2 ช้อนโต๊ะ
•น้ำมะนาว  1 ช้อนชา
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากนำขมิ้นชันผงกับดินสอพองผสมให้เขากัน แล้วกรองด้วยตะแกรงเพื่อร่อนให้ได้ผงสมุนไพร 2 อย่างที่ผสมรวมกันและ ละเอียดที่สุด จากนั้นก็เก็บในกระปุกเล็ก ๆ ปิดฝาให้มิดชิด  เวลาใช้ นำผงสมุนไพรที่ได้ผสมน้ำมะนาวลงไป ผสมให้ได้เนื้อครีมข้นเหนียว  จากนั้นล้างหน้าให้สะอาด แล้วนำเนื้อครีมที่ได้แต้มที่หัวสิวทิ้งไว้ จนเนื้อครีมแห้งจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำทุกวัน เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย

หรือสาว ๆ ชอบวิธีง่าย ๆ ก็ใช้ Magic Herb เจลแต้มสิว ช่วยให้สิวอักเสบยุบเร็ว ลดโอกาสการเกิดรอยแผลเป็นด้วยจ้า ถ้าจะให้ดี ก็ใช้ครบเซ็ทชุดรักษาสิวที่มีทั้ง มาส์กละลายหัวสิว ครีมขมิ้น แอคเน่ไนท์ครีม และมาส์กรักษาสิวอักเสบ รวมด้วยก็จะได้ผลดี ผิวหน้าเกลี้ยงเกลา เนียนใส ลดโอกาสเกิดสิว ลดรอยแผลสิวให้จางหายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งช่วยให้หลุมสิวตื่นขึ้น และควบคุมความมันบนใบหน้าได้ด้วยนะค่ะ


ที่มาhttp://www.alldaybazaar.com/main/component/content/article/html

แปะก๋วย

แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช
สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ
สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)
ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย
ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย


สรรพคุณที่ได้จากใบแป๊ะก๋วย

•แปะก๊วย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo flavoneglycosides ลักษณะใบของมันจะแยกเป็นแฉกคล้ายกังหันลม เมื่อนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายพบว่ามีสารสกัดสำคัญ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มฟลาโวน (Flavonoids) ทำหน้าที่ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ส่วนที่เหลืออีกสองกลุ่มเป็นน้ำมันจากใบแปะก๊วย คือ bilobalides และ ginkgolides สารทั้งสองตัวนี้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย คือ ป้องกันโรคความจำเสื่อม (โรคสมองฝ่อ) โดยเป็นตัวเสริมสร้างการ ส่งสัญญาณในระบบสมอง ช่วยระบบหมุนเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดแผลเรื้องรังโดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่เป็นโรค เบาหวาน และช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายนิ้วมือและเท้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้

•สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันจอตาเสื่อมจากเบาหวานหรือ "ภาวะเบาหวานขึ้นตา" จากการทดลองพบว่าหากให้ผู้ป่วยเบาหวาน และมีอาการทางตา เช่น การรับสีผิดเพี้ยนไป กินสารสกัดแปะก๊วยนาน 6 เดือน ปัญหาการมองเห็นสีดีขึ้น

•ใบแปะก๊วยยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980

•มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น

•สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

•ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย



อ้างอิง1.^ Zhiyan Zhou and Shaolin Zheng (2003-06-19). "Palaeobiology: The missing link in Ginkgo evolution". Nature 423 (ฉบับที่ 423): 821–822. doi:10.1038/423821a.
2.^ Sun (1998). Ginkgo biloba. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Endangered (EN B1+2c v2.3)

รอบรู้เรื่องสมุนไพรไทยขมิ้นชัน